เมื่อพูดถึงไข้หวัดใหญ่ เชื่อว่าหลายคนกำลังให้ความสนใจ อาจจะด้วยสถานการณ์ของโคโรน่าไวรัส(โควิด19) ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ ที่มีลักษณะอาการคล้ายคลึงกับไข้หวัดใหญ่ จนเกิดเป็นกระแสที่สร้างความหวาดระแวงให้กับผู้คนจำนวนไม่น้อยว่า “ฉันเป็นรึยัง” “ผมติดเชื้อแล้วไหม”
ขอขอบคุณรูปจาก www.freepik.com
ไข้หวัดใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่าอินฟลูเอนซ่า (Influenza Virus) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 สายพันธุ์หลักๆคือชนิด A ,
B และ C แต่ชนิด B และ C พบน้อยและมีอาการไม่รุนแรง ในขณะที่ชนิด A พบได้ทั้งในคนและสัตว์ และพบ 4 สายพันธุ์ย่อยที่พบบ่อย และมีการระบาดอย่างรุนแรงไปทั่วโลก เช่น H1N1,H3N2,H5N2 เป็นต้น และที่น่าประหลาดใจคือเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จะมีการอัพเดทสายพันธุ์ของตัวเองอยู่เรื่อยๆ ดังนั้นเมื่อร่างกายเราอ่อนแอ ก็จะมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
ในระยะแรกผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนเป็นไข้หวัดธรรมดา แต่จะมีไข้สูงติดต่อกันหลายวัน ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย คัดจมูกน้ำมูกไหล บางรายอาจมีการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย สิ่งที่น่ากลัวอย่างหนึ่งของไข้หวัดใหญ่คือ ภาวะแทรกซ้อนของโรค เช่น ปอดอักเสบ และสมองอักเสบ เป็นต้น ซึ่งมักเกิดขึ้นได้กับเด็กเล็กผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง และเนื่องจากว่าอาการของไข้หวัดใหญ่จะมีความใกล้เคียงกับโควิด-19 เป็นอย่างมาก แต่จะแตกต่างกันที่โควิด19 ผู้ป่วยจะหายใจลำบาก แน่นหน้าอก จนถึงขั้นปอดอักเสบได้ ดังนั้นเมื่อมีอาการเบื้องต้น ควรรีบเข้าพบแพทย์เป็นการด่วนเพื่อวินิจฉัยและรักษาต่อไป
ขอขอบคุณรูปจาก www.pexels.com
เนื่องจากภูมิต้านทานในร่างกายของคนเราไม่เสถียรสามารถลดต่ำลงได้ ในขณะที่ไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์อยู่ตลอดเวลา โดยปกติวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะใช้เวลาในการออกฤทธิ์ประมาณ2 สัปดาห์นับจากวันที่ฉีด และจะอยู่ได้ประมาณ 1 ปี เมื่อมีไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ๆมา ร่างกายก็จะมีภูมิต้านทานไม่เพียงพอที่จะต่อสู่กับเชื้อโรคเหล่านั้น
ดังนั้นองค์การอนามัยโลก(WHO) จึงแนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันทุกปี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้สามารถรับมือกับเชื้อไวรัสที่จะเข้ามาสู่ร่างกายได้ดีมากยิ่งขึ้น
การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ไม่เพียงส่งผลดีต่อระบบภูมิต้านทานร่างกายของแต่ละบุคคลเท่านั้น แต่ส่งผลดีต่อสังคมที่เราอยู่ด้วย
1. การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่ในสายพันธุ์เดียวกันหรือสายพันธุ์ใกล้เคียงได้ถึง 70-90 %
2. เมื่อมีอาการ สามารถลดความรุนแรงของโรคไข้หวัดใหญ่ได้ถึง 70-80%
และถึงแม้ว่าวัคซีนไข้หวัดใหญ่จะไม่สามารถป้องกันโควิด19ได้แต่จะช่วยลดความรุนแรงหากมีการติดเชื้อร่วมกัน
3. ช่วยลดความรุนแรงจากภาวะแทรกซ้อนของโรคไข้หวัดใหญ่ลงได้
4. ช่วยลดการใช้ยาปฏิชีวนะค่าใช้จ่ายในการรักษา และลดอัตราการเสียชีวิตจากโรค ช่วยลดการระบาดของเชื้อไข้หวัดใหญ่ในสังคม
จะว่าไปแล้วทุกคนจำเป็นต้องได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกายเป็นประจำทุกปี แต่มีกลุ่มคนที่ถูกจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงที่เมื่อเป็นไข้หวัดใหญ่แล้ว
อาจมีอาการหนักกว่าคนทั่วไป ซึ่งต้องให้ความสำคัญต่อการรับวัคซีนเป็นพิเศษ ได้แก่
1. หญิงตั้งครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป วัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถป้องกันหญิงตั้งครรภ์จากไข้หวัดใหญ่ซึ่งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
และสามารถป้องกันโรคให้กับทารกหลังคลอดที่อายุไม่ถึง 6 เดือนได้ด้วย
2. ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่ระบบภูมิต้านทานไม่แข็งแรง และการตอบสนองต่อวัคซีนก็ลดลง
3. เด็กเล็กอายุ 6 เดือน – 2 ปี
4. ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้
5. ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย(โรคโลหิตจางที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม)
6. ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือผู้ติดเชื้อ HIV
7. ผู้ที่เป็นโรคอ้วน 100 กิโลกรัมขึ้นไป
8. ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง ได้แก่...
ขอขอบคุณรูปจาก www.pexels.com
ก่อนเข้ารับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ สิ่งสำคัญคือเราต้องเข้าใจในข้อควรระวังและหมั่นตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอ ดังนี้
1. หากป่วย หรือมีไข้ไม่ควรฉีดวัคซีน
2. แจ้งแพทย์ หากกำลังตั้งครรภ์ มีโรคประจำตัว แพ้อาหาร แพ้ยา แพ้ไข่ไก่(วัคซีนมีส่วนผสมของโปรตีนไข่)
3. เลื่อนการฉีดวัคซีนหากกำลังรักษาโรคบางอย่างอยู่
4. ยาที่ใช้อยู่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือดหรือกระทบต่อภูมิคุ้มกันหรือไม่?
5. จดบันทึกทุกครั้งเมื่อมีการฉีดวัคซีน
หลายท่านเมื่อรับการฉีดวัคซีนแล้วมักจะมีอาการข้างเคียงเกิดขึ้น ซึ่งอาการส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติภายใน 1-2 วัน ได้แก่
1. อาการวิงเวียนศีรษะ คล้ายจะเป็นลม หลังฉีดวัคซีนแล้วควรนั่งพักสักครู่ อาการดังกล่าวจะค่อยๆหายไป
2. ปวด บวม แดงเฉพาะบริเวณที่ฉีดวัคซีน เช่น ต้นแขน
3. มีไข้อ่อนๆ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ(ส่วนใหญ่จะเกิดในรายที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน)
4. หากมีไข้สูง เป็นลมพิษ หอบหืดเนื่องจากแพ้โปรตีนจากไข่ ให้รีบพบแพทย์ด่วน
อย่างไรก็ตามการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นเพียงหนึ่งในการเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายในทางหนึ่งเท่านั้น แต่จะเกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุดเมื่อเราทำควบคู่กับการดูแลตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการพักผ่อนอย่างเพียงพอ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และอย่าลืมสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายของตัวเอง เมื่อมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไปค่ะ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
🤔 เราเคยสงสัยกันมั้ยคะว่า ทำไมเครื่องสำอางถึงมีแบบที่เป็น Serum ? เเละ Serum มีลักษณะเป็นอย่างไร? ดียังไง? .... วันนี้นารดาคลินิกมีคำตอบค่ะ ⭐ Serum เป็นตัวบำรุงผ...